วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัตของข้าพเจ้า


ชื่อ : นางจุฬาภรณ์ สุวรรณเขต
เกิด: วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2518
สถานที่ทำงาน : องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านม่วง
อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
ตำแหน่ง: นักวิชาการเงินและบัญชี

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

http://www.udonthani.com/chanode.htm




เมืองคำชะโนด
ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทยประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวม กันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยัง มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียก ว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอก จากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุท โธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ใน ความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่งตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่า ขานแก่ชาวเมืองคำชะโนดได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ. บ้านดุงต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ12 กม.
วังนาคินทร์คำชะโนด
วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำลบบ้านม่วงและตำบลบ้านจันทร์อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธเป็นพญานาค ครองเมืองหนองกระแสครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่าสุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ 5,000 เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนตายกันตลอดมา แต่มีข้อตกลงกันอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหารอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหารเพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งกัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้นแต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขตลอดมา อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งพร้อมกับนำขนของช้างไปให้ดูเพื่อเป็นหลักฐานต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่งสุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฎว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียว แต่ขนของเม่นใหญ่เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาคจึงต้องแบ่งให้น้อยสุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่าขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหนถึงอย่างไรตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาคพร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์" ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยินดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่าเม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสียเถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่เชื่อผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นอยู่แล้วจึงสั่งบริวาร ไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่าพญานาค ทั้งสองรบกันอยู่ถึง 7 ปีต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียงคนเดียวจนทำ ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแสและบริเวณรอบ ๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้ พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อน ไปทั้งสามภพความเดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระ อินทรา ธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์และเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆให้ฟังเมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้อง หาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพจึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ ลงมา ยังเมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัส เป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้" การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอกัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแสใครสร้างถึงทะเล ก่อนจะ ให้ปลา บึก ขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำ สงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาค ทั้งสอง ให้เอาภูเขาพญาไฟ เป็น เขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกันขอ ให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการ ดัง กล่าวแล้วสุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออก จาก หนองกระแสสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรง ไหนเป็นภูเขาก็คดโค้ง ไปตามภูเขาหรือ อาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยาก ง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการ ดังกล่าวจึงพาบริวารไพร่พลพลอย อพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถันและเป็นผู้มีใจเย็น การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำ ให้ตรงและคิดว่าตรง ๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่า แม่น้ำทุกสายในประเทศไทย การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฎว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะและปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกตามการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้นอยู่แม่น้ำโขงและเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อพญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์เอาไว้ 3 แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรงแห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ 3 แห่ง คือ1. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์2. ที่หนองคันแท3. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด) ส่วนที่ 1-2 เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ 3 ที่ พรหมประกายโลกคือที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก)แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่า ๆ กันและให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาลให้สุทโธนาคมีลักษณะ 31 วันข้างขึ้น 15 วัน ให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก15 วัน ในข้างแรมให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ. 2500 ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีจะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปี หรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่าบุญพระเวท ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็นผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำและปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง(รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธได้จัดมีการแข่งเรือและประกวดชายงามที่เมืองชะโนด นายคำตา ทองสีเหลือง ซึ่งเป็นชาวบ้านวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุงได้บวชอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (วัดโนนตูม และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2533) ติดกับเมืองชะโนดได้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธให้ไปประกวดชายงาม และบุคคลดังกล่าวเกิดความคลุ้มคลั่งอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ญาติพี่น้องได้ทำการรักษาโดยใช้หมอเวทมนต์ (อีสานเรียกว่าหมอทำ)จัดเวรยามอยู่เฝ้ารักษาและในที่สุดได้หายไปนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วได้กลับมาและได้เล่าเรื่องเมืองชะโนดให้พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายฟังถึงความงามความวิจิตรพิสดารต่าง ๆ ของเมืองบาดาลให้ผู้สนใจฟัง ปัจจุบันนี้คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เรือตรี อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม อดีตนายอำเภอบ้านดุง ได้ชักชวนข้าราชการทุกฝ่ายตลอดทั้ง ตำรวจ อส. พ่อค้าประชาชนได้ทำสะพานทางเข้าเมืองชะโนด ตลอดทั้งปรับปรุงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวอำเภอบ้านดุง และจังหวัดอื่นและจนได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดอุดรธานีให้นำน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์คำชะโนดไปร่วมงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530 และในปี พ.ศ.2533 นายมังกร มาเวียงปลัดอำเภอบ้านดุง (หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ) ได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปเมืองชะโนด

คำชะโนด